ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

Hello9

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น
_____________________________________________________________________
ในการเรียนครั้งนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน 10คะแนน
สอบเกี่ยวกับความรู้ที่เรียนมา เป็นการสังเกตพฤติกรรมเด็ก พร้อมอธิบายและบรรยายเกี่ยวกับพฤติกรรม
_____________________________________________________________________
นางสาวสุภาวดี  พรมภักดิ์
(ผู้บันทึก)

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

Hello8

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น
การส่งเสริมทัษะต่างๆของเด็กพิเศษ

บทที่ 3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การกินอยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การแต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน 

การสร้างความอิสระ 



- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ” 

จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี) 



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี) 



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี) 



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี) 




ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า

การวางแผนทีละขั้น
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด




สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ




เข้าสู่กิจกรรมในชั้นเรียน

ระบายสีเป็นวงกลม เลือกสีตามความรู้สึกของเรา

"สร้างต้นไม้ด้วยยใจเรา" 
โดยการให้แต่ละคนออกมาติดตามกิ่งไม้ ตรงไหนก็ได้ตามใจเรา ตามคลิปเลยค่ะ

ผลงานการระบายสีของพวกเราค่ะ

ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้
- จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความเป็นตัวเรา การอยู่ร่วมกันในหมู่คณะของเรา
- รู้สึกมีความคิดเป็นของตนเอง แต่งแต้มตามใจและอารมณ์ของเรา โดยผ่านความรู้สึกของเราได้
- ได้หัวเราะและรอยยิ้ม เป็นเห็นผลงานของเพื่อนๆแต่ละคนจะตกแต่งและแตกต่างกันออกไป

ภาพรวมของการเรียนครั้งนี้
- เริ่มจากการเรียนเกี่ยวกับการฝึกทักษะของเด็กโดยการช่วยเหลือตนเอง ในการพัฒนาการเด็กเราต้องเรียนรู้และให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือตนเอง ถ้าวันใดไม่มีเราค่อยช่วยเด็กก็จะสามารถอยู่ด้วยตนเองได้
- การสอนเด็กเราต้องแน่ที่การ "การย่อยงาน"คือการบอกเป็นขั้นตอน 

การนำไปประยุกค์ใช้
>>การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ "ทางด้านการช่วยเหลือตนเอง" สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการสอนและแนวทางการสอนของอาจารย์ไปประยุกค์ใช้กับเด็กได้ เช่นการสอนเด็กแต่งทำเพื่อนทำกิจกรรม เราก็ควรบอกเด็กเป็นขั้นตอนๆ พร้อมทำไปด้วยกับเด็กจะทำให้เด็กเห็นภาพและทำตามเราได้อย่างง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ

การประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง>> มีความพร้อมในการเรียน และชอบการเรียนในครั้งมีเป็นที่สุด เข้าใจในการสอนของอาจารย์ และจดบันทึกเพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจ

เพื่อน>> มีความร่วมมือในการสอนของอาจารย์ และร่วมทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ

อาจารย์ผู้สอน>> เป็นอีกครั้งที่อาจารย์นำบททดสอบมาเล่นกับนักศึกษาได้อย่างน่าสนใจและสนุกสนาน ซึ่งเห็นด้วยจากความตั้งใจของอาจารย์


นางสาวสุภาวดี  พรมภักดิ์
ผู้บันทึก


วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

Hello7

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น
ทักษะภาษา 
1. การวัดความสามารถทางภาษา 
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม 

2. การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด 
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง 

3. การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ 
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน 

4. ทักษะพื้นฐานทางภาษา 
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
• 






5. ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย 
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย (ต่อ) 
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
((การสอนตามเหตุการณ์))
                               เป็นการสอนทีระขั้นตอน เป็นการบอกย้ำเด็ก ให้กระทำตาม เป็นขั้นตอน 
ถ้าเจอเด็กทีทำไม่เป็นหรือไม่เข้าใจเราก็คอยช่วยเหลือโดยเราไปพูดและบอกทีละขั้นตอนพร้อมให้เด็กทำตามไปด้วย.

((เข้าสู่กิจกรรมในชั้นเรียนของเรา))
เป็นกิจกรรม "ขีดเส้นระบายสีบำบัด" 
                  >>วิธีการบำบัด<<
                                1.เตรียมกระดาษเปล่า พร้อมสีเทียน คนละ 1สี
                                2.อาจารย์ผู้สอน เปิดเพลงโดยเพลงมีแต่เสียงดนตรี
                                3.ให้นักศึกษาขีดเสีน โดยให้ขีดไปทางไหนก็ได้ให้เสันเป็นเส้นตรง
                                4.จบบทเพลง
                                5.ให้นักศึกษาระบายสีเส้นที่ตัดกันจดเป็นช่องว่าง ให้ครบทุกช่อง(ตามภาพนะคะ)



((สรุปการกิจกรรม))
การขีดเส้นเป็นช่องสี่เหลี่ยม > เป็นคนที่ตรงไปตรง จนไม้บรรทัดเรียกพี่ ก้อว่าได้ พูดจาขวานผาซาก เป็นคนซื่อๆ คิดยังไง ก้อทำอย่างนั้น

การขีดเส้นเป็นช่องสามเหลี่ยม > เป็นคนที่ชอบพัฒนาตนเองให้เจริญขึ้น เป็นคนที่มีความพยายามสูง ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ชอบพึ่งพาคนอื่น

การเลือกสีที่โทนอ่อน > เป็นคนที่มีนิสัยชอบความสมถะ ไม่มีความหวือหวา ชอบความเรียบง่ายที่ดูดี เป็นคนที่มีพรสวรรค์ในด้านศิลปะ สนใจและชอบการทำงานในเชิงสร้างสรรค์ รักสวยรักงาม

การเลือกสีที่โทนเข้ม > มักเป็นคนที่มีความลับ ไม่ชอบการเปิดเผยเรื่องราวของตนเอง เป็นคนที่มีซับซ้อนอยู่ในตัวเองสูง สนใจในเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับ เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณ ชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจอันซับซ้อนของคน สนใจในเรื่องการศึกษานิสัยใจคน เป็นคนฉลาดล้ำลึก

การนำไปประยุกค์ใช้
>>การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ "ทางด้านภาษา" สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการสอนและแนวทางการสอนของอาจารย์ไปประยุกค์ใช้กับเด็กได้ เช่นการสอนเด็กแต่งทำเพื่อนทำกิจกรรม เราก็ควรบอกเด็กเป็นขั้นตอนๆ พร้อมทำไปด้วยกับเด็กจะทำให้เด็กเห็นภาพและทำตามเราได้อย่างง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ
การประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง>>ดีค่ะ
เพื่อน>>ดีค่ะ
อาจารย์ผู้สอน>>ดีค่ะ


นาวสาวสุภาวดี  พรมภักดิ์
ผู้บันทึก