ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Hello6

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น



การเรียนครั้งนี้ต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา


การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
-เด็กทุกคนสอนได้-
        1.เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
        2.เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส 

•เทคนิคการใช้แรงเสริม
-แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่-
         1.ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
         2.มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
         3.หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป 

-วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่-
         1.ตอบสนองด้วยวาจา
         2.การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
         3.พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
         4.สัมผัสทางกาย
         5.ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

-หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย-
         1.ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
         2.ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
         3.ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ 

-การแนะนำหรือบอกบท (prompting)- 
         1.ย่อยงาน
         2.ลำดับความยากง่ายของงาน
         3.การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
         4.การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

-ขั้นตอนการให้แรงเสริม-
          1.สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
          
2.วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น          
3.สอนจากง่ายไปยาก          
4.ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม          
5.ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป          
6.ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด          
7.ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”          
8.ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
•จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม 

-ความต่อเนื่อง-
1.พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
          - เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
          - สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
2.เด็กตักซุป
          2.1การจับช้อน
          2.2การตัก
          2.3การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
          2.4การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
          2.5การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

-การลดหรือหยุดแรงเสริม-
          
1.ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม          
2.ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก          
3.เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก         
4.เอาเด็กออกจากการเล่น 

การสอนเด็ก
(ความเป็นครูต้องมีความคงส้นคงวา)


"""""""""""""""""""""""ต่อ""""""""""""""""""""""""



 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 


1. ทักษะทางสังคม(ขึ้นอยู่กับตัวเด็ก)
          •เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
          •การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
          1.การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
          
2.เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ          
3.ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง 

ยุทธศาสตร์การสอน
          
1.เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร          
2.ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ          
3.จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง          
4.ครูจดบันทึก          
5.ทำแผน IEP 

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง 
     (เด็กพิเศษชอบเรียนแบบ"เพื่อน")
1.วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง          
2.คำนึงถึงเด็กทุกๆคน          
3.ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน          
4.เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น           
1.อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ          
2.ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู          
3.ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป          
4.เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น(ค่อยๆเพิ่มอุปกรณ์เด็กทีละชิ้น เพื่อความดึงดูดความสนใจของเด็ก)
5.ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น           
•ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน          

•ทำโดย “การพูดนำของครู” 

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์           
1.ไม่ให้ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ(สร้างข้อตกลงกับกฏเกณฑ์ในการเล่น)          
2.การให้โอกาสเด็ก         
3.เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง          
4.ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง 

เข้าสู่กิจกรรม
          กิจกรรม"เส้น"และ"จุด"(เป็นศิลปะดนตรีบำบัด)
        
          อุปกรณ์
                    1.กระดาษเปล่า
                    2.สีเทียน หรือ ดินสอสีต่างๆ
                    3.เสียงดนตรีเพลง(ไม่มีเนื้อร้อง)
          วิธีการบำบัด
                    1.ให้เด็กจับคู่กับเพื่อน
                    2.แจกกระดาษและสีคนละ 1แท่ง
                    3.ให้เด็กๆเลือก 
                         3.1.ใครจะลากเส้นตามเสียงดนตรี(โดยไม่ยกมือขึ้นจนกว่าเสียงดนตรีจะหายไป)
                         3.2.ใครจะระบายสีตามวงกลม ที่เพื่อนลากเส้นไปมาจดเป็นวงกลม (ดังรูป)


                     4.เมื่อจบบทเพลง ให้เด็กๆมองว่าในกระดาษที่เราวาดกัน เด็กๆมองเป็นภาพอะไรแล้วระบายสีออกมาเป็นภาพ




ส่งท้ายคาบเรียนด้วยบทเพลง
เพลงดวงอาทิตย์


การนำไปประยุกต์ใช้
(( - การสอนแบบบรรยายเนื้อหา เล่าประสบการณ์ได้ชัดเจนและจิตนาการได้ดี
- การสังเกตเด็กแต่ละบุคคล โดยจดบันทึกเรื่องราวเหตุการณืตอนนั้นเลย เพื่อเนื้อความจะไม่ผิดไปจากเดิม
- การเสริมแรงเด็กโดยการ กระตุ้นด้วยสิ่งของหรือสิ่งที่เด็กสนใจ 
- คุณครูต้องเป็นสื่อในการเชื่อมโยงเด็กเข้าด้วยกัน "การเข้าสังคม"    ))


การประเมินในชั้นเรียน
((ตนเอง)) - วันนี้มีความพร้อมในการเรียนปริ้นเอกสารมาเรียน 
- และเข้าเรียนก่อนเวลาแต่งกายเรียบร้อย 
- น่ารักสดใสมีความพร้อมที่จะเรียนในครั้งนี้ 

((เพื่อน)) - เพื่อนๆพร้อมใจกันมาเรียนเช้า 
- ยิ้มแย้มแจ่นใส 
- ตั้งใจทำกิจกรรม

((อาจารย์ผู้สอน)) - มีความพร้อมในการสอน 
- น่ารักสดใส่ 
- มีกิจกรรมมาให้ทำอย่างหน้าสนใจ 

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Hello5

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น



เรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
                   เข้าสู่บทเรียนโดยการวาดรูปมือตัวเอง สิ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุดมือที่เราเห็นทุกวันใช้งานทุกวัน โดยการใส่ถุงมือแล้ววาดรูปมือตัวเอง "ว่าเราจะจำลายละเอียดมือที่ใส่ถุงมือได้มาเท่าไรกัน" เปรียบเหมือน "เด็ก" การบันทึกเด็กเราต้องบันทึกเหตุการณ์เด็กนะตอนนั้น เพราะสิ่งที่เราเห็นทุกวันอามีการเปรียนแปลงไปได้ขนาดมือเราใช้งานทุกวันเรายังจำรายละเอียดไม่ครบเลย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องบันทึกเหตุการณ์สำคัญๆของเด็กตอนนั้น.

(สิ่งที่ฉันจำได้)


>>เข้าสู่เนื้อหาการเรียน<<

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ

การฝึกเพิ่มเติม
๐ อบรมระยะสั้น , สัมมนา
๐ สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
๐ เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
๐ ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
๐ รู้จักเด็กแต่ละคน
๐ มองเด็กให้เป็น “เด็ก”

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
๐ การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
๐ วุฒิภาวะ
๐ แรงจูงใจ
๐ โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ
๐ ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
๐ เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
๐ การสอนโดยบังเอิญ
๐ ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
๐ ครูต้องมีความสนใจเด็ก
๐ ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
๐ ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
๐ ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
๐ ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
๐ ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
๐ มีลักษณะง่ายๆ
๐ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
๐ เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
๐ เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
๐ เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
๐ กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
๐ เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
๐ การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
๐ คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู

ความยืดหยุ่น
๐ การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
๐ ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
๐ ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ
๐ ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
๐ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

______________________________________________________________________________

+555555555555555555555555555555555555+
เวลาเรียนผ่านไป^O^เข้าสู่การเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์ผู้สอนของเรา อิอิ^O^


_____________________________________________________________________________


การนำไปประยุกต์ใช้

(( - ในการสอนเข้าสู่บทเรียนของอาจารย์ในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการ"วาดรูปมือ"
- และเปรียนเทียบกับสถานการณ์การสังเกตเด็กการบันทึกพฤติกรรมเด็ก
- เราต้องบันทึกในขณะนั้น
- เพื่อเหตุการณ์หรือสิ่งที่เด็กกระทำตอนนั้นจะไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากเหตุการณ์เดิม ))


การประเมินในชั้นเรียน


((ตนเอง)) - วันนี้มีความพร้อมในการเรียนปริ้นเอกสารมาเรียน
- และเข้าเรียนก่อนเวลาแต่งกายเรียบร้อย
- น่ารักสดใสมีความพร้อมที่จะเรียนในครั้งนี้
- เพื่อทำดีให้อาจารย์ดีใจเพราะเป็นช่วงของวันเกิดอาจารย์ผู้สอนค่ะอิอิ

((เพื่อน)) - เพื่อนๆพร้อมใจกันมาเรียนเช้า
- ยิ้มแย้มแจ่นใส
- มีความตั้งใจที่จะเซอร์ไพรส์วันเกิดของอาจารย์ผู้สอน

((อาจารย์ผู้สอน)) - มีความพร้อมในการสอน
- น่ารักสดใส่
- มีเรื่องเล่าประสบการณ์ที่ดี
- และยังสอนและให้ข้อคิดกับนักศึกษาไว้สอนใจอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Hello4

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น
__________________________________________________________________________

เรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
๐ เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักศึกษาวาดรูปเหมือน ของ"ดอกหางนกหง"และเขียนใต้ภาพกับสิ่งที่เราเห็น ๐
การวาดภาพสื่อให้เห็นถึงเด็กนักเรียนของเรา 
ในการสังเกตเด็กว่าเป็นอย่างไร โดยที่เราต้องเขียนออกมาตามที่เราเห็นไม่ต้องไปแต่งเติมให้สวยงาม


อย่างเช่น "ดอกหางนกยง" มีสีแดง ปลายกลีบดอกสีเหลือง มี 6กลีบ 
มีเกสอนดอกไม้ 10ก้าน 7ก้านมีปลายสีเหลือง 3ก้านมีปลายสีแดง
ล้อมรอบด้วยใบไม้สีเขียว

(๐ ภาพจริง ๐ ๐ ภาพวาด ๐ )



บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม


ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก 
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี 
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ 
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

(๐ ตัวอย่างการสังเกตและบันทึกของอาจารย์ ๐)


สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ 
- การบันทึกต่อเนื่อง 
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ
- นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม 
- กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
- ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง
- ให้รายละเอียดได้มาก 
- เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่ง
- โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
- บันทึกลงบัตรเล็กๆ
- เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


__________________________________________________________________________


เพิ่มเต็มด้วยบทเพลง 1 บทเพลงก่อนจบบทเรียนวันนี้

เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
__________________________________________________________________________


การนำไปประยุกต์ใช้
- ชอบวิธีการสอนของอาจารย์นวันนี้ เป็นการเริ่มการสอนได้ดีมาก มีการวาดรูปก่อนบทเรียน และมาเข้าสู่บทเรียนจากนั้นมาพูดถึงสิ่งที่เราวาดไปก่อนเริ่มเนื้อหาการเรียน ทำให้เราเห็นภาพจริงเปรียบเทียบกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปแล้วข้างต้นได้เลยค่ะ
- การนำไปประยุกต์ใช้คือการสังเกตเด็ก พฤติกรรมที่เด็กแสดงออก
- การบันทึกเด็กโดยเราต้องเขียนด้วยความจริง จุดเด่นชัดของเด็ก ไม่เขียนเกินจริง
- การนำบทเพลงท้ายคาบไปร้องเก็บเด็กได้

การประเมินในชั้นเรียน
((ตนเอง)) แต่งกายถูกระเบียบ มีความตั้งใจมาเรียน รับฟังอาจารย์สอน มีความร่วมมือในการเรียนการสอนของอาจารย์ 

((เพื่อน)) ตอนท้ายคาบมีการร้องเพลงเพื่อนๆตั้งใจร้องเพลงนะสนุกสนานไปกับการสอนของอาจารย์

((อาจารย์)) มีการสอนที่ดี โดยการวาดรูปก่อนเข้าบทเรียนได้ดีมาก และเป็นการมาสรุปภาพที่เราวาดเพราะอะไรก่อนเข้าสู้บทเรียน ทำให้เรารู้ถึงตัวเด็กและเข้าใจในตัวเด็กและบทเรียนมาขึ้นอีกด้วย


นางสาวสุาวดี พรมภักดิ์
(ผู้บันทึก)

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Hello3

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 29 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น
_______________________________________________________________________

>>>ไม่มีการเรียนการสอน/อาจารย์ไปสัมมนาทางวิชาการ<<<

สัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา
"วิกฤติหรือโอกาส...การศึกษาปฐมวัยไทยในเวทีอาเซียน"
โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ




^^ภาพบรรยากาศในงาน 
By อ.กฤณ แจ่มถิ่น ^^

_______________________________________________________________________

นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์
(ผู้บันทึก)

Hello2

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น
_______________________________________________________________________


ในวันพฤหัสบดี ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558
ซึ่งมีการเรียนการสอน แต่ดิฉันไม่ได้เข้าร่วมในชั้นเรียน 
จึงได้ศึกษาเพิ่มเต็มและสอบถามจากเพื่อนที่เข้าร่วมในการเรียนครั้งนี้ ดังต่อไปนี้^^




ความรู้ที่ได้รับจากเพื่อน   
             ในวันนี้เป็นการมาเรียนรวมกับอีกกลุ่มอยู่ในช่วงบ่ายโมง อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้ 

รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป           - การศึกษาพิเศษ
- การศึกษาแบบเรียนร่วม       - การศึกษาแบบเรียนรวม


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม

                - การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
                - มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
                - ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
                - ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน


การเรียนร่วมเต็มเวลา

                   คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน และเด็กพิเศษจะได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ



ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

                   เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยจะรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มรับเข้าการศึกษา และเด็กทุกคนจะมีบริการพิเศษความต้องการของแต่ละบุคคล



ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม

                  - ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
                  - "สอนได้"
                  - เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด


กิจกรรมในชั้นเรียน

                 เป็นกิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษา และหลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนให้ร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย 4 เพลงซึ่งมีชื่อเพลง ดังนี้ 
                 1. เพลงแปรงฟัน
                 2. เพลงพี่น้องกัน
                 3. เพลงอาบน้้ำ
                 4. เพลงมาโรงเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้
))เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆ ทำให้สามารถนำไปใช้กับเด็กที่มีความพกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความพกพร่องทางการมองห็น เด็กที่มีความพกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น จัดให้เด็กเหล่านี้เข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติ เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก อีกทั้งยังช่วยให้เด็กปกติมีการยอมรับ และปรับตัว เพื่อสามารถเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้นั้นเอง((

_______________________________________________________________________
นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์
(ผู้บันทึก)