ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Hello6

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น



การเรียนครั้งนี้ต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา


การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
-เด็กทุกคนสอนได้-
        1.เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
        2.เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส 

•เทคนิคการใช้แรงเสริม
-แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่-
         1.ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
         2.มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
         3.หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป 

-วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่-
         1.ตอบสนองด้วยวาจา
         2.การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
         3.พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
         4.สัมผัสทางกาย
         5.ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

-หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย-
         1.ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
         2.ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
         3.ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ 

-การแนะนำหรือบอกบท (prompting)- 
         1.ย่อยงาน
         2.ลำดับความยากง่ายของงาน
         3.การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
         4.การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

-ขั้นตอนการให้แรงเสริม-
          1.สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
          
2.วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น          
3.สอนจากง่ายไปยาก          
4.ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม          
5.ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป          
6.ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด          
7.ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”          
8.ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
•จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม 

-ความต่อเนื่อง-
1.พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
          - เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
          - สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
2.เด็กตักซุป
          2.1การจับช้อน
          2.2การตัก
          2.3การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
          2.4การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
          2.5การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

-การลดหรือหยุดแรงเสริม-
          
1.ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม          
2.ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก          
3.เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก         
4.เอาเด็กออกจากการเล่น 

การสอนเด็ก
(ความเป็นครูต้องมีความคงส้นคงวา)


"""""""""""""""""""""""ต่อ""""""""""""""""""""""""



 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 


1. ทักษะทางสังคม(ขึ้นอยู่กับตัวเด็ก)
          •เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
          •การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
          1.การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
          
2.เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ          
3.ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง 

ยุทธศาสตร์การสอน
          
1.เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร          
2.ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ          
3.จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง          
4.ครูจดบันทึก          
5.ทำแผน IEP 

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง 
     (เด็กพิเศษชอบเรียนแบบ"เพื่อน")
1.วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง          
2.คำนึงถึงเด็กทุกๆคน          
3.ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน          
4.เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น           
1.อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ          
2.ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู          
3.ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป          
4.เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น(ค่อยๆเพิ่มอุปกรณ์เด็กทีละชิ้น เพื่อความดึงดูดความสนใจของเด็ก)
5.ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น           
•ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน          

•ทำโดย “การพูดนำของครู” 

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์           
1.ไม่ให้ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ(สร้างข้อตกลงกับกฏเกณฑ์ในการเล่น)          
2.การให้โอกาสเด็ก         
3.เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง          
4.ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง 

เข้าสู่กิจกรรม
          กิจกรรม"เส้น"และ"จุด"(เป็นศิลปะดนตรีบำบัด)
        
          อุปกรณ์
                    1.กระดาษเปล่า
                    2.สีเทียน หรือ ดินสอสีต่างๆ
                    3.เสียงดนตรีเพลง(ไม่มีเนื้อร้อง)
          วิธีการบำบัด
                    1.ให้เด็กจับคู่กับเพื่อน
                    2.แจกกระดาษและสีคนละ 1แท่ง
                    3.ให้เด็กๆเลือก 
                         3.1.ใครจะลากเส้นตามเสียงดนตรี(โดยไม่ยกมือขึ้นจนกว่าเสียงดนตรีจะหายไป)
                         3.2.ใครจะระบายสีตามวงกลม ที่เพื่อนลากเส้นไปมาจดเป็นวงกลม (ดังรูป)


                     4.เมื่อจบบทเพลง ให้เด็กๆมองว่าในกระดาษที่เราวาดกัน เด็กๆมองเป็นภาพอะไรแล้วระบายสีออกมาเป็นภาพ




ส่งท้ายคาบเรียนด้วยบทเพลง
เพลงดวงอาทิตย์


การนำไปประยุกต์ใช้
(( - การสอนแบบบรรยายเนื้อหา เล่าประสบการณ์ได้ชัดเจนและจิตนาการได้ดี
- การสังเกตเด็กแต่ละบุคคล โดยจดบันทึกเรื่องราวเหตุการณืตอนนั้นเลย เพื่อเนื้อความจะไม่ผิดไปจากเดิม
- การเสริมแรงเด็กโดยการ กระตุ้นด้วยสิ่งของหรือสิ่งที่เด็กสนใจ 
- คุณครูต้องเป็นสื่อในการเชื่อมโยงเด็กเข้าด้วยกัน "การเข้าสังคม"    ))


การประเมินในชั้นเรียน
((ตนเอง)) - วันนี้มีความพร้อมในการเรียนปริ้นเอกสารมาเรียน 
- และเข้าเรียนก่อนเวลาแต่งกายเรียบร้อย 
- น่ารักสดใสมีความพร้อมที่จะเรียนในครั้งนี้ 

((เพื่อน)) - เพื่อนๆพร้อมใจกันมาเรียนเช้า 
- ยิ้มแย้มแจ่นใส 
- ตั้งใจทำกิจกรรม

((อาจารย์ผู้สอน)) - มีความพร้อมในการสอน 
- น่ารักสดใส่ 
- มีกิจกรรมมาให้ทำอย่างหน้าสนใจ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น