ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Hello4

EAED3124 กลุ่ม101
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เวลาเรียน 08:30-12:20 น. ห้องเรียน 224
คุณครูผู้สอน อาจารย์กฤณ แจ่มถิ่น
__________________________________________________________________________

เรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
๐ เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักศึกษาวาดรูปเหมือน ของ"ดอกหางนกหง"และเขียนใต้ภาพกับสิ่งที่เราเห็น ๐
การวาดภาพสื่อให้เห็นถึงเด็กนักเรียนของเรา 
ในการสังเกตเด็กว่าเป็นอย่างไร โดยที่เราต้องเขียนออกมาตามที่เราเห็นไม่ต้องไปแต่งเติมให้สวยงาม


อย่างเช่น "ดอกหางนกยง" มีสีแดง ปลายกลีบดอกสีเหลือง มี 6กลีบ 
มีเกสอนดอกไม้ 10ก้าน 7ก้านมีปลายสีเหลือง 3ก้านมีปลายสีแดง
ล้อมรอบด้วยใบไม้สีเขียว

(๐ ภาพจริง ๐ ๐ ภาพวาด ๐ )



บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม


ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก 
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี 
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ 
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

(๐ ตัวอย่างการสังเกตและบันทึกของอาจารย์ ๐)


สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ 
- การบันทึกต่อเนื่อง 
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ
- นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม 
- กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
- ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง
- ให้รายละเอียดได้มาก 
- เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่ง
- โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
- บันทึกลงบัตรเล็กๆ
- เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


__________________________________________________________________________


เพิ่มเต็มด้วยบทเพลง 1 บทเพลงก่อนจบบทเรียนวันนี้

เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
__________________________________________________________________________


การนำไปประยุกต์ใช้
- ชอบวิธีการสอนของอาจารย์นวันนี้ เป็นการเริ่มการสอนได้ดีมาก มีการวาดรูปก่อนบทเรียน และมาเข้าสู่บทเรียนจากนั้นมาพูดถึงสิ่งที่เราวาดไปก่อนเริ่มเนื้อหาการเรียน ทำให้เราเห็นภาพจริงเปรียบเทียบกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปแล้วข้างต้นได้เลยค่ะ
- การนำไปประยุกต์ใช้คือการสังเกตเด็ก พฤติกรรมที่เด็กแสดงออก
- การบันทึกเด็กโดยเราต้องเขียนด้วยความจริง จุดเด่นชัดของเด็ก ไม่เขียนเกินจริง
- การนำบทเพลงท้ายคาบไปร้องเก็บเด็กได้

การประเมินในชั้นเรียน
((ตนเอง)) แต่งกายถูกระเบียบ มีความตั้งใจมาเรียน รับฟังอาจารย์สอน มีความร่วมมือในการเรียนการสอนของอาจารย์ 

((เพื่อน)) ตอนท้ายคาบมีการร้องเพลงเพื่อนๆตั้งใจร้องเพลงนะสนุกสนานไปกับการสอนของอาจารย์

((อาจารย์)) มีการสอนที่ดี โดยการวาดรูปก่อนเข้าบทเรียนได้ดีมาก และเป็นการมาสรุปภาพที่เราวาดเพราะอะไรก่อนเข้าสู้บทเรียน ทำให้เรารู้ถึงตัวเด็กและเข้าใจในตัวเด็กและบทเรียนมาขึ้นอีกด้วย


นางสาวสุาวดี พรมภักดิ์
(ผู้บันทึก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น